ส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

252 Views  | 

ส่งออกทุเรียนสด

ทุเรียนได้รับฉายาว่าเป็น ราชาแห่งผลไม้ (King of fruits) เป็นผลไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เจริญเติบโตและให้ผลได้ดีในเขตสภาพอากาศร้อนชื้น เป็นผล้ไม้ที่คนไทยส่วนมากนิยมบริโภค แล้วยังเป็นผลไม้ส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยและทำรายได้ให้กับประเทศในแต่ละปีจำนวนมาก โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยคือ ประเทศจีน (คิดเป็นร้อยละ 89.96 ปี 2564) และในปี 2566 ประเทศจีนมีปริมาณการนำเข้าทุเรียนสดจากประเทศไทย เป็นอันดับที่ 1 (ร้อยละ 65.15) เวียตนาม และฟิลิปปินส์เป็นอันดับที่ 2 (ร้อยละ 34.59) และ อันดับที่ 3 (ร้อยละ 0.26) ตามลำดับ (ที่มา สถิติศุลกากรแห่งชาติจีน-GACC)

ปัจจุบัน มาเลเซีย เป็นประเทศที่ 4 ที่ได้รับอนุญาตจากศุลกากรแห่งชาติจีน ให้สามารถส่งออกทุเรียนสด ได้ต่อจากประเทศไทย เวียตนาม และฟิลิปปินส์ ภายใต้ข้อกำหนดด้านการตรวจสอบกักกันโรคและศัตรูพืช

11 ขั้นตอนในการส่งออกทุเรียนสดไปต่างประเทศ

  1. เริ่มต้นจากการขออนุญาตเป็นผู้ส่งออกสินค้าไทย กับกรมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้บัตรประจำตัวผู้ส่งออก
  2. ผู้ส่งออกต้องดำเนินการลงทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมศุลกากร
  3. จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกทุเรียนสดไปนอกราชอาณาจักรกับกรมวิชาการเกษตร ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด
    • เอกสารสำคัญที่ต้องขอให้กรมวิชาการเกษตรออกให้ ได้แก่
      • Phytosanitary Certificate ใบรับรองสุขอนามัยพืชจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกทุเรียนสดไปยังนอกราชอาณาจักร หมายเลขทะเบียน DU-1-XX-XXX
      • จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้
        • สมพ.4 ใช้ในการส่งออกไปสหภาพยุโรป นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สมาพันธรัฐสวิส และประเทศอื่นๆที่ต้องใช้ GMP กับ GAP 
        • สมพ.5 ใช้ในการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และประเทศอื่นๆที่ไม่ต้องใช้ GMP กับ GAP
          • GMP คือโรงงานบรรจุที่ถูกสุขลักษณะและมีการควบคุมการผลิตให้ได้คุณภาพและมาตรฐานตามที่กฏหมายกำหนด
          • GAP คือผักที่มีความปลอดภัยที่มีการควบคุมสารเคมีและสารตกค้าง ในอัตราที่กฏหมายกำหนด
  4. ผู้ส่งออกต้องติดป้ายหรือฉลาก หรือระบุข้อความเป็นภาษาอังกฤษให้ชัดเจนที่บรรจุภัณฑ์ ตามแบบที่ทางกรมวิชาการเกษตรกำหนด ดังนี้
    1. ชื่อและหมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก
    2. ชื่อพืชและพันธุ์
    3. ชั้นและน้ำหนักของสินค้า
    4. ประเทศผู้ผลิต
    5. กำหนดเวลาอายุการรับประทาน
  5. ตรวจสอบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เช่น อาเซียนและจีน ได้มีการทำข้อตกลงการค้าเสีรีระหว่างประเทศ FTA Asean-China ส่งผลให้สินค้าบางรายการที่ส่งออกจากไทยไปจีนไม่ถูกเก็บภาษีนำเข้า ณ ประเทศจีน ผู้ส่งออกที่ต้องการใช้สิทธิลดภาษีนำเข้าจะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนินดสินค้า ฟอร์มอี (Form E) ฟอร์มดี (Form D) เพื่อใช้ประกอบการลดภาษีนำเข้า
  6. ยื่นขอมีบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้า สินค้า เพื่อใช้ยื่นฟอร์ม ACFTA (ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน)
  7. ขอหนังสือรับรองและใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการส่งออกจากประเทศไทย
  8. ขอเอกสารการรับรองเพิ่มเติมตามที่ประเทศผู้นำเข้านั้นๆ ต้องการ เช่น ใบรับรองสุขอนามัย Health Certificate
  9. ผ่านพิธีการศุลกากร เมื่อสินค้าได้รับการรับรองการส่งออกและได้รับใบอนุญาตต่างๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าแล้ว ผู้ส่งออกต้องเตรียมเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น ใบขนสินค้าขาออก Commercial Invoice และ Packing List เป็นต้น เพื่อใช้ในขั้นตอนการผ่านพิธีการศุลกากรในประเทศไทย และในประเทศนำเข้าด้วย
  10. ทำการส่งออก เลือกรูปแบบและวิธีการขนส่งสินค้า เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่สามารถคงความสดอยู่ได้ไม่เกิน 20 วัน และคายความร้อนสูง ในการขนส่ง ทุเรียนจะถูกจัดเก็บในตู้สินค้าห้องเย็น ที่อุณหภูมิ 13-15 องศาเซลเซียสและมีการเปิดช่องระบายอากาศเพื่อระบายความร้อน (Ventilator) ดังนั้นผู้ส่งออกจำเป็นต้องเลือกรูปแบบในการขนส่งทุเรียนที่เหมาะสม เพื่อให้คงความสดใหม่ของผลไม้ โดยคำนึงถึงเรื่องระยะเวลาในการขนส่งเป็นสำคัญ 
  11. ผู้ส่งออกรายงานการส่งทุเรียนสดออกไปนอกราชอาณาจักรต่อกรมวิชาการเกษตร

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy