การคิดค่าระวางสินค้า

199597 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การคิดค่าระวางสินค้า

การขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Freight) 

การคิดคำนวนค่าระวางการขนส่งสินค้าทางอากาศ แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

- การคิดจากน้ำหนักรวมที่ชั่งได้ (Actual Weight / Gross Weight)

- การคิดจากปริมาตรความจุ (Volume Weight) โดยค่าไหนมากกว่าจะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง

 

ค่าระวาง = อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า (ที่ได้รับจากการเปรียบเทียบ)

ตัวอย่างการคำนวณ

ถ้าต้องการส่งสินค้าจำนวน 10 กล่อง น้ำหนัก 40 กิโลกรัมต่อกล่อง ขนาดกล่องละ กว้าง 70 x ยาว 70x สูง 60 ซม.

จากกรุงเทพไปโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

อัตราค่าระวาง มีดังนี้

น้ำหนักสินค้าตั้งแต่ 45 กิโลกรัม อัตราค่าระวางกิโลกรัมละ 60 บาท

น้ำหนักสินค้าตั้งแต่ 250 กิโลกรัม อัตราค่าระวางกิโลกรัมละ 55 บาท



วิธีคำนวณ

เริ่มจากการเปรียบเทียบน้ำหนักสินค้า 

Actual Weight  = จำนวนของ x น้ำหนักต่อกล่อง

= 10 x 40  = 400 กิโลกรัม 

 

Volume Weight = จำนวนของ x ปริมาตรของกล่อง (กว้าง x ยาว x สูง) (ซม.) / 6,000

=  10 x (70 x70 x60) / 6,000

= 490 กิโลกรัม
 

*** ตัวเลข 6,000 คือ อัตราเปรียบเทียบที่ทางสายการบินกำหนด ***
 
จากการคำนวณ จะเห็นว่า Volume Weight (490 กิโลกรัม) มากกว่า Actual Weight (400 กิโลกรัม)

ดังนั้น เราจึงใช้ Volume Weight ในการคิดค่าระวางสินค้า

โดยอัตราค่าระวาง จะใช้ราคา น้ำหนักตั้งแต่ 250 กิโลกรัมๆละ 55 บาท

 

ค่าระวาง      =  อัตราค่าระวาง x น้ำหนักสินค้า

=  THB 55 x 490 กิโลกรัม =  THB 26,950

เพราะฉะนั้น จะต้องชำระค่าระวางสินค้า 26,950 บาท

 

การขนส่งสินค้าทางเรือ (Sea Freight)

การขนส่งสินค้าทางเรือ โดยระบบตู้คอนเทนเนอร์นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

- FCL (Full container load) คิดค่าระวางตามจำนวนตู้
- LCL(Less container load) คิดค่าระวางตามลูกบาศก์เมตร(CBM) หรือน้ำหนักปริมาตร(Weight Ton) โดยค่าไหนมากกว่าจะใช้ค่านั้นในการคิดค่าระวาง

 

ตัวอย่างการคำนวณ(กรณี LCL)

ถ้าต้องการส่งสินค้าจำนวน 20 กล่อง น้ำหนัก 40 กิโลกรัมต่อกล่อง ขนาดกล่องละ กว้าง 40 x ยาว 60 x สูง 100 ซม.

จากท่าเรือกรุงเทพ ไป ท่าเรือโตเกียว อัตราค่าระวาง USD 20 / CBM

 

วิธีการคำนวณ

เริ่มจากการเปรียบเทียบปริมาตร

ลูกบาศก์เมตร (CBM) =  จำนวนของ x ปริมาตรลูกบาศก์เมตรต่อกล่อง

= 20 x [(40 x60x100)/1,000,000]

= 20 x 0.24

= 4.800 CBM



Weight ton = จำนวนของ x น้ำหนักต่อกล่อง(ตัน)

= 20 x (40/1,000)

= 0.80 Ton

จากการคำนวณ CBM มากกว่า Weight ton ดังนั้น จึงใช้ CBM ในการคิดค่าระวาง

ค่าระวาง = อัตราค่าระวาง x ปริมาตรของ

= USD 20 x 4.800

= USD 96

เพราะฉะนั้น จะต้องชำระค่าระวางสินค้า USD 96

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้