บริการเช็คราคาค่าขนส่งสินค้า
แบบ Port-to-Port และ Door-to-Door ประกอบด้วย
- บริการเข้ารับสินค้าและขนส่งไปยังท่าเรือ
- บริการแพ็คสินค้า
- บริการผ่านพิธีการศุลกากรขาออกจากเวียดนาม
- บริการขนส่งสินค้าทางเรือ
- บริการผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าที่ท่าเรือกรุงเทพ/แหลมฉบัง
- บริการจัดส่งสินค้าจนถึงผู้รับสินค้าปลายทาง
มีเรือออกทุกสัปดาห์ จากท่าเรือโฮจิมินห์ ถึงท่าเรือกรุงเทพ/แหลมฉบัง ระยะเวลาในการขนส่งประมาณ 3-4 วัน
มีเรืออกทุกสัปดาห์ จากท่าเรือไฮฟง ถึงท่าเรือกรุงเทพ/แหลมฉบัง ระยะเวลาในการขนส่งประมาณ 7-10 วัน
ขนส่งแบบไม่เต็มตู้ LCL
ความยาว ความกว้าง ความสูง ไม่เกิน 150 ซม.
น้ำหนักสินค้าขั้นต่ำ 100 กิโลกรัม โดยคำนวณน้ำหนักจริงเทียบกับน้ำหนักปริมาตร โดยนำน้ำหนักที่สูงกว่ามาคิดค่าบริการ
เงื่อนไข ค่าบริการเปรียบเทียบจากน้ำหนักจากการชั่งและน้ำหนักที่ได้จากการคำนวณปริมาตรด้วย
สูตร กว้าง x ยาว x สูง หน่วยเป็นเมตร โดยจะนำค่าน้ำหนักที่สูงกว่ามาคิดเป็นค่าบริการ
ขนส่งแบบเต็มตู้ FCL
เรามีบริการสำหรับลูกค้าที่ต้องการนำเข้าแบบเหมาตู้คอนเทนเนอร์
1.ตู้ 20 ฟุต สามารถรับน้ำหนักสินค้าได้ประมาณ 21,000 กิโลกรัม และ ปริมาตรไม่เกิน 30 ลบ.ม.
2.ตู้ 40 ฟุต สามารถรับน้ำหนักสินค้าได้ประมาณ 25,000 กิโลกรัม และ ปริมาตรไม่เกิน 60 ลบ.ม.
FOB (Free On Board) เป็นราคาที่ผู้ขายสินค้าจะนำสินค้ามาส่งที่ท่าเรือต้นทางในประเทศจีน จากนั้นผู้ซื้อในประเทศไทยจะต้องรับผิดชอบในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางในประเทศจีน มาจนถึงประเทศไทย โดยผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและดำเนินการในเรื่องการนำเข้าดังต่อไปนี้
- ค่าใช้จ่ายปลายทางที่จ่ายให้กับผู้รับขนส่งสินค้าเมื่อเรือมาถึงท่าเรือที่ปลายทาง เช่น สายเรือ หรือตัวแทนเรือ
- ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า และ เสียภาษีนำเข้า
- จ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า เช่น ค่าธรรมเนียมศุลกากร, ค่าผ่านท่า เป็นต้น
- ดำเนินการขนส่งสินค้าออกจากท่าเรือเพื่อขนส่งไปยังสถานที่ของผู้ซื้อ โดยใช้รถขนส่ง เช่น รถหัวลาก รถบรรทุก 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ เป็นต้น
EXW (Ex-Work) เป็นราคาที่ผู้ขายขายสินค้าหน้าโรงงาน ผู้ซื้อสินค้าจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากสถานที่ของผู้ขายในประเทศจีนจนมาถึงประเทศไทย
- ค่าใช้จ่ายปลายทางที่จ่ายให้กับผู้รับขนส่งสินค้าเมื่อเรือมาถึงท่าเรือที่ปลายทาง เช่น สายเรือ หรือตัวแทนเรือ
- ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า และ เสียภาษีนำเข้า
- จ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า เช่น ค่าธรรมเนียมศุลกากร, ค่าผ่านท่า เป็นต้น
- ดำเนินการขนส่งสินค้าออกจากท่าเรือเพื่อขนส่งไปยังสถานที่ของผู้ซื้อ โดยใช้รถขนส่ง เช่น รถหัวลาก รถบรรทุก 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ เป็นต้น
- ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading)
- ใบกำกับราคาสินค้า (Commercial Invoice)
- ใบกำกับหีบห่อ (Packing List)
- ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order)
- ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Entry)
- ใบอนุญาตินำเข้า (Import License) ถ้ามี
- หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ถ้ามี